การติดตั้งป้ายและช่องทางแจ้งเบาะแสการรุกล้ำทางสาธารณะ

ความรู้กฎหมายการติดตั้งป้ายโฆษณาหรือสิ่งอื่นใดที่รุกล้ำทางสาธารณะ

ตามที่  พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ลงนามในกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุมป้ายหรือสิ่งสร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ.2558    โดยกฎกระทรวงดังกล่าว มีขึ้นเนื่องจากบทบัญญัติ “อาคาร” ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 หมายถึงป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายด้วย แต่ลักษณะโครงสร้างและการใช้สอยของป้ายแตกต่างจากอาคารทั่วไป ซึ่งข้อกำหนดหรือกฎกระทรวงที่ใช้บังคับกับอาคารไม่อาจใช้บังคับกับกรณีของป้ายได้เหมาะสม หรือยังไม่มีข้อกำหนดสำหรับป้ายเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นการรวบรวมและปรับปรุงข้อกำหนดในเรื่องป้ายให้เหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะของป้ายในสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

มีข้อกำหนดที่สำคัญ เช่น ข้อ 17 ต้องจัดให้มีระบบไฟฟ้าแสงสว่างส่องแผ่นป้ายหรือป้ายที่ใช้ระบบไฟฟ้าและมีแสงสว่างในตัวเอง แสงสว่างที่ออกจากป้ายจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญบริเวณข้างเคียง และไม่รบกวนการมองเห็นสภาพจราจรของผู้ขับขี่ยานพาหนะจนอาจส่งผลต่อการควบคุมหรือขับขี่ยานพาหนะ

นอกจากนี้ในหมวด 10 ข้อ 23 ระบุว่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดตั้งหรือป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ป้ายตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดตั้งบนหลังคา หรือดาดฟ้า หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป ให้มีหน้าที่ดังนี้

(1) ต้องจัดให้มีตัวอักษรแสดงเลขที่ใบรับรองการตรวจสอบ ในกรณีที่ยังไม่มีใบรับรองการตรวจสอบป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายให้แสดงเลขที่ใบอนุญาตก่อสร้างแทน รวมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และมีขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่า 20 เซนติเมตร แสดงไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ชัดเจนในบริเวณด้านหน้าป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย

(2) ต้องจัดให้มีการประกันภัยความรับผิดตามกฎกระทรวงกำหนดชนิดหรือประเภทของอาคารที่เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารหรือผู้ดำเนินการต้องทำการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก พ.ศ. 2548

ขณะที่ในหมวด 11 ข้อ 24 ระบุว่า ในกรณีที่ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงอันอาจเป็นภยันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจาของหรือผู้ครอบครองป้ายดำเนินการแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 30 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่ง ในกรณีมีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปอีกก็ได้

ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองป้ายดำเนินการเพื่อบรรเทาเหตุที่อาจก่อให้เกิดภยันตรายดังกล่าวได้ทันทีตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด หรือสั่งห้ามมิให้ใช้ป้ายนั้นจนกว่าจะมีการแก้ไข

ทั้งนี้ตามบทเฉพาะกาล ข้อ 27 กำหนดว่า ให้ผู้ดำเนินการ ผู้ครอบครอง หรือเจ้าของป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับใบแจ้งการก่อสร้าง ดัดแปลงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือก่อสร้างดัดแปลงแล้วเสร็จไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับตามข้อ 23 (1) ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

ช่องทางแจ้งเบาะแสป้ายโฆษณาหรือสิ่งอื่นใดที่รุกล้ำทางสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เทศบาลเมืองบ้านบึง จึงได้จัดช่องทาง สำหรับการแจ้งเบาะแสป้ายโฆษณาหรือสิ่งอื่นใดที่รุกล้ำทางสาธารณะ หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีช่องทางในการแจ้งเบาะแส ดังนี้

close(x)